วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

การใช้อินเตอร์เน็ตในทางการตลาด

การใช้อินเตอร์เน็ตในการตลาด


การตลาดบนโลกออนไลน์จะเริ่มเข้าไปมีบทบาทเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจหน้าร้านค้าปกติ ได้อย่างมาก อย่างเช่น หลายคนหาข้อมูล-ส่วนลดร้านอาหารจากทางออนไลน์ผ่านบริการของ ดีลพิเศษแต่ละวันเพื่อไปทานอาหารกับเพื่อนๆ หรือลูกค้า บางคนส่อง QR Code เพื่อรับข้อมูล ณ.จุดขายเพื่อสามารถดูข้อมูลสินค้าและรายละเอียดเพิ่มมากขึ้นได้ ดังนั้นการเชื่อมโยงข้อมูลจากโลกออนไลน์ไปกระตุ้นหรือทำให้คนตัดสินใจซื้อสินค้าในโลกออฟไลน์กำลังจะเริ่มเติบโตมากขึ้น ซึ่งบางธุรกิจสามารถเพิ่มยอดขายและจำนวนลูกค้าได้มหาศาลจากการตลาดลักษณะนี้ การทำตลาดออนไลน์ ถือว่าเป็นแนวทางที่มาแรงมากในยุคนี้ทางบริษัทตัวแทนโฆษณาจึงพิจารณากันใหม่โดยสร้างเป็นนวัตกรรมหนึ่งทางด้านการ ตลาดก็คือ จะแบ่งเป็น 2 แนวทางคือการตลาดแบบ Offline Marketing คือ การสื่อสารการตลาดโดยใชเครื่องมือกลุ่มAbove the line และ กลุ่ม Below the line Activities กล่าวคือ กิจกรรมทางโฆษณา การตลาดและการขายที่มองเห็นไม่เกี่ยวกับอินเตอร์เนต จับต้องได้นั่นเองการตลาดแบบ Online Marketing คือ การตลาดทีมีกิจกรรมบนไซเบอร์หรือระบบอินเตอร์เนตทั้งหมดนั่นเองไม่ว่า จะเป็นการซื้อการขาย การโฆษณาหรือการวางแผนการตลาดผ่านทางอินเตอร์เนต ซึงปัจจุบันจะมีความสำคัญมากและสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมากทีเดียว ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วิธีการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ องค์ประกอบต่างๆ ของการตลาดแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการซึ่งมีหน้าร้านบนโลกไซเบอร์แห่งนี้จะต้องทำความเข้าใจเป็น อย่างดี เพื่อจะได้จัดกิจกรรมทางการตลาดอย่างเหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในช่วงเริ่มต้นนั้นการตลาดอาจเป็นเรื่องยากของผู้ประกอบการหน้าใหม่ รวมถึงผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจอยู่ แต่การศึกษาหาข้อมูล และการทำความเข้าใจในวิธีการการตลาดจะสามารถนำเอาข้อมูลดังกล่าวไปใช้เพิ่ม เติมความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ธุรกิจออนไลน์ของคุณสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย การใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือเชิงพาณิชย์นั้น สามารถช่วยให้ผู้ขายประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งในเรื่องของสินค้า พนักงานขาย และให้บริการได้ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง โดยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีผู้ใช้ทั่วโลกกว่า 600 ล้านคนทำให้ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ทั้งนี้ ผู้ขายจะต้องศึกษาเรื่องของสินค้า, ช่องทางการประชาสัมพันธ์ ตลอดจนกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อให้การใช้สื่อประเภทนี้มีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นการมีเว็บไซต์เพื่อจำหน่ายสินค้าจึงไม่ใช่เครื่องรับประกันความสำเร็จทาง ธุรกิจ เพราะยังมีองค์ประกอบที่เป็นตัวแปรสำคัญ คือ “การตลาด” แต่เดิมนั้น หลายท่านอาจจะรู้จักส่วนผสมทางการตลาดเพียง 4 P คือ Product, Price, Place, Promotion แต่ปัจจุบันท่านต้องรู้จักกับอีก 2 P ใหม่คือ Personalization และ Privacy เพื่อให้เกิดแนวคิดประยุกต์ใช้องค์ประกอบการตลาดดั้งเดิม บวกกับความสามารถพิเศษของเทคโนโลยี ทำให้เกิดองค์ประกอบการตลาดแบบใหม่ได้

การทำธุรกิจขายเสื้อผ้าทางอินเตอร์เน็ตให้มีความน่าเชื่อถือ

itpinglun.com
ธุรกิจร้านเสื้อผ้าทางอินเตอร์เน็ต เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบรายเล็ก และคาดว่าจะมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แต่ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมาก เนื่องจากสินค้าที่มีการซื้อขายได้ง่าย และราคาที่ไม่สูงมาก อีกทั้งสินค้าประเภทนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามกระแสนิยม สินค้าประเภทนี้จึงตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดี
การเปิดร้านเสื้อผ้าออนไลท์สามารถทำได้ง่ายก็จริง แต่ทางด้านผู้ประกอบการเองควรมีการเตรียมความพร้อมสำหรับธุรกิจประเภทนี้ สิ่งที่ต้องเตรียมเป็นลำดับแรก คือ ศึกษาพฤติกรรมของลูกค้า ศึกษาเป้าหมายอย่างชัดเจนแล้วนำมาวิเคราะห์แผนทางการตลาด แล้วจึงอัพเดตสินค้าให้ตรงกับความต้องการ เพื่อให้ทันต่อกระแสนิยม ซึ่งการอัพเดตแฟชั่นสามารถติดตามได้ทางนิตยสาร รายการโทรทัศน์ หรือทางอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจในส่วนของธุรกิจซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตด้วย เช่น การเลือกรูปแบบเว็บไซต์ ระบบฐานข้อมูล ระบบการชำระเงินการโฆษณาผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบการรักษาความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เนื่องจากจะช่วยให้สามารถวางแผนการดำเนินธุรกิจซื้อขายออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม
การเลือกร้านค้าออนไลท์ก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเอง โดยสร้างขึ้นจากชุดโปรแกรมสำหรับสร้างเว็บไซต์ ซึ่งแบบนี้ค่อนข้างยุ่งยาก และต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างเยอะหากต้องจ้างคนอื่นในการเขียนโปรแกรม หรือเว็บไซต์สำเร็จรูปที่เปิดให้บริการกับร้านค้า ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากขึ้นอยู่กับราคาของแพคเกจ แต่ละแพคเกจจะข้อจำกัดแตกต่างกันไป สำหรับผู้ประกอบการในช่วงเริ่มต้นแนะนำให้ทำในรูปแบบสำเร็จรูป ซึ่งง่ายและสะดวก มีรายละเอียดต่างๆให้ครบ เมื่อซื้อแพคเกจแล้วสามารถเปิดร้านค้าได้ทันที
เมื่อสามารถเลือกผู้ให้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปได้แล้ว สิ่งต่อมาที่ต้องทำคือ การตั้งชื่อเว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จัก และทำให้เกิดการจดจำ การจดโดเมนควรตั้งให้มีความโดดเด่น และจดจำได้ง่าย ชื่อโดเมนนั้นเป็นสิ่งที่บอกตัวตนของธุรกิจ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้ามาเลือกสินค้าได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติหรือรายละเอียดของสินค้าอย่างครบถ้วน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และเกิดการกลับมาซื้อในครั้งต่อๆไป

จัดทำโดย : นายประกอบ  ตรรกชนชูชัย
ที่มา : http://www.itpinglun.com/


พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร




วิธีดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีวิธีดำเนินการที่หลากหลาย นอกจากปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ประสบผลสำเร็จแล้ว วิธีดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ประสบผลสำเร็จ โดยวิธีดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ผู้ขายสินค้า
               เมื่อผู้ขายสินค้าต้องการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ขายสินค้าต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องสินค้าและเทคโนโลยี จากนั้นจึงปฏิบัติการตามขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
  1. จัดหาสินค้าหรือบริการที่ต้องการนำเสนอขาย ผู้ขายสินค้าควรมีความรู้ในสินค้าที่นำเสนอเป็นอย่างดี โดยอาศัยหลักการทางการตลาด
  2. สร้างเว็บไซด์สำหรับนำเสนอสินค้าหรือบริการ โดยผู้ขายสินค้าอาจสร้างเว็บไซต์เองหรือ จ้างผู้อื่นสร้างก็ได้
  3. ติดต่อขอเช่าพื้นที่เว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลของพื้นที่ที่ให้บริการและอัตราค่าบริการ แล้วจึงถ่ายโอนข้อมูลหรืออัพโหลดข้อมูลไปยังเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หลังจากนั้นผู้ขายสินค้าจะต้องหมั่นตรวจเช็คและปรับปรุงเว็บไซต์ของตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

เว็บไซต์ของผู้ขายสินค้า

    ผู้ซื้อสินค้า
              เมื่อผู้ซื้อสินค้าต้องการใช้บริการหรือซื้อสินค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ซื้อสินค้าควรปฏิบัติ ดังนี้
  1. เปิดชมเว็บไซต์ต่างๆ ที่ขายสินค้าหรือบริการที่ต้องการในอินเทอร์เน็ต เพื่อศึกษาข้อมูลดังต่อไปนี้
    • ราคาสินค้าต่อหนึ่งหน่วย
    • ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่เปิดบริการ
    • วิธีการติดต่อร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าและบริการ
    • วิธีการชำระเงิน
    • วิธีการส่งสินเค้าและบริการหลังการขาย
  2. เมื่อพบสินค้าที่ต้องการ ให้ผู้ซื้อสินค้าติดต่อเว็บไซต์นั้นตามวิธีการที่เว็บไซต์กำหนด เช่น การส่ง
    อีเมล์ การโทรศัพท์ หรือการสั่งซื้อผ่านทางเว็บไซต์โดยตรง
  3. ชำระค่าสินค้าหรือบริการตามที่เว็บไซต์นั้นกำหนด ซึ่งวิธีการชำระสินค้าหรือบริการสามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ การชำระสินค้าผ่านทางบัตรเครดิต
  4. รอรับและตรวจสอบสินค้า


ขั้นตอนการซื้อสินค้าจากเว็บไซด์


จัดทำโดย : นายประกอบ  ตรรกชนชูชัย

ที่มา : http://www.itknowledge.j-bac.ac.th/lesson6/6_1.html
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=mJrKfVFdSr8

ระบบผู้เชี่ยวชาญ

ระบบผู้เชี่ยวชาญ

     ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert Systems) เป็นระบบที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจ โดยจะเกี่ยวข้องกับการจัดความรู้ มากกว่าสารสนเทศทั่วไป และจะถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็น มนุษย์ เป็นการจำลองความรู้ของผู้เชี่ยวชาญมาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบผู้เชี่ยวชาญจัดเป็นงานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ที่มีการปฏิบัติและติด ตั้งใช้งานมากที่สุด ระบบจะทำการโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่าง ให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในกระบวนการตัดสินใจ แต่ระบบนี้จะมีความสามารถเฉพาะด้านต่อปัญหาเฉพาะทางที่ไม่สามารถแก้ไขดัด แปลงไปใช้แก้ปัญหาอื่นได้โดยง่าย
องค์ประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญ
1.  ฐาน ความรู้ (Knowledge Base) เป็นส่วนของความรู้ของผู้เชี่ยวชาญทั้งข้อเท็จจริงที่เป็นความรู้ทั้งหมดและ กฎที่ผู้เชี่ยวชาญใช้ในการตัดสินใจ
2.  โปรแกรม ของระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System Software หรือ Software Resources) แบ่งเป็น 2ส่วน คือ ส่วนที่ใช้ในการประมวลผลความรู้จากฐานความรู้และส่วนที่ใช้ในการติดต่อสื่อ สารกับผู้ใช้
ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ
                1. ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านหนึ่งด้านใดโดยเฉพาะไว้ ทำให้ไม่สูญเสียความรู้และสามารถนำความรู้นั้นมาใช้งานเมื่อผู้เชียวชาญออก จากองค์การหรือไม่สามารถปฏิบัติงานได้
                2. จะช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจให้ผู้บริหารจำนวนมากๆ พร้อมกัน
                3. สามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิพลให้กับผู้ใช้ระบบในการตัดสินใจได้ เป็นอย่างมาก
                4. ช่วยให้การตัดสินใจแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน
                5. ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

จัดทำโดย : นายประกอบ  ตรรกชนชูชัย
ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/358027
ที่มา :  http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pichai_l/it01/it_type_es.htm

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด

ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

         ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในระบบสารสนเทศทางการตลาด นั้น จะได้รับสารสนเทศจากหลายๆส่วน  ตามที่กล่าวมาแล้วในบทที่ 3  ได้แก่ ระบบข้อมูลภายใน  ระบบข่าวกรองทางการตลาดและระบบวิจัยทางการตลาด ซึ่งจะผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูลเข้ามา   สามารถเขียนเป็นแผนภาพรวมการทำงานร่วมกันของระบบต่างๆ ได้ดังนี้

                                  


 ภาพแสดงการประสานงานระบบสารสนเทศทางการตลาดกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด

        จากแผนภาพดังกล่าวข้างต้น   จะเห็นได้ว่าแผนภาพถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่  ๆ คือ
        ส่วนการนำเข้าของข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางการตลาด และส่วนสนับสนุนการตัดสินใจ
1. ส่วนที่หนึ่ง  เป็นส่วนที่เชื่อมต่อมาจากระบบสารสนเทศทางการตลาด ซึ่งได้กล่าวไปแล้วในบทที่ 3 ได้แก่
- ส่วนข้อมูลภายใน ที่เรียกว่า ระบบข้อมูลภายใน (Internal Record System )  
- ส่วนข้อมูลภายนอก หรือระบบข่าวกรองทางการตลาด (Intelligence System)  
- ส่วนงานวิจัยทางการตลาด (Marketing  Research System)    
ส่วนของข้อมูลภายใน มาจากการเชื่อมต่อระบบแลน หรือ อินทราเนตภายใน ส่วนของข้อมูลภายนอก มาจากการเชื่อมต่อองค์กรกับภายนอก เช่น เอ็กทราเนตหรือ อินเตอร์เนต แล้วนำเข้ามาเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูล เตรียมพร้อมสำหรับการนำสารสนเทศไปใช้ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจต่อไป
2.  ส่วนที่แรเงา คือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวแบบคณิตศาสตร์  ตัวแบบทางสถิติ  ตัวแบบทางการเงิน และตัวแบบทางวิทยาศาสตร์ธุรกิจมากมาย ทั้งที่ระบบจัดเตรียมไว้ให้แล้วและส่วนที่ผู้ใช้สามารถปรับปรุงใช้เพิ่มเติมเองได้   ซึ่งจะถูกปรับปรุงให้สะดวกต่อการใช้งานได้ทันที  เป็นตัวแบบสำเร็จรูปมากขึ้น  ในทางการตลาดเรียกว่า ตัวแบบทางการตลาด (Marketing Models)   ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบผู้ใช้ (User Interface) ให้สามารถใช้งานได้ง่ายบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั่วไป
        ส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งอยู่ในส่วนงานสนับสนุนการตัดสินใจ คือ ระบบติดต่อผู้ใช้ (User Interface)  ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อประสานผู้ใช้  ช่วยให้ผู้ตัดสินใจเข้าถึงและจัดการระบบ DSS ได้  ด้วยการใช้ วลี คำศัพท์ทางธุรกิจในการให้ได้รับคำตอบที่เข้าใจง่าย (Dialogue  Management)  และสื่อสารกับผู้ใช้ในลักษณะที่เข้าใจง่าย เช่น  แผนภาพกราฟฟิก  รูปภาพ  ตาราง  ตัวเลข   หรือข้อความที่เป็นคำสรุป   ในลักษณะหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบอย่างเป็นมิตรกับผู้ใช้   เข้าใจง่าย  ใช้งานง่ายและให้ผลลัพธ์ที่พร้อมนำไปใช้งาน

จัดทำโดย : นายประกอบ  ตรรกชนชูชัย
ที่มา : http://courseware.payap.ac.th/docu/mk380/f5.5.htm

ระบบข่าวกรองทางการตลาด

ระบบข่าวกรองทางการตลาด (Marketing Intelligence System)

     ในการทำสงครามในอดีต  ทหารที่เป็นหน่วยรบแนวหน้ามักจะมีปัญหาที่คล้ายๆกันคือไม่รู้ว่าหนทางข้างหน้าเป็นอย่างไร   ข้าศึกเป็นอย่างไร    ไม่รู้เป้าหมายปลายทางว่ามีสถานการณ์อย่างไร  แม้ว่าจะเป็นทหารที่มีอาวุธครบมือก็ตาม แต่ถ้าไม่ทราบสถานการณ์ที่อยู่ภายภาคหน้า     หรือปฏิบัติภาระกิจโดยปราศจากการวางแผนมาล่วงหน้า    โอกาสที่จะสูญเสียย่อมมีสูง     ในการรบอาจมีเป้าหมายหลายประการ    แต่เป้าหมายประการหนึ่งที่ทหารทุกคนต้องการก็คือ รบชนะโดยสูญเสียให้น้อยที่สุด
        ดังนั้นในการทำการรบครั้งใดก็ตามต้องมีการแสวงหาข่าวสารข้อมูลจากฝ่ายตรงข้าม  จะด้วยวิธีการสืบเสาะแสวงหาใดๆ ก็แล้วแต่ ข้อมูลเหล่านั้นควรได้มาอย่างถูกต้อง  ข้าศึกมิล่วงรู้  หรือ เป็นข่าวโคมลอยชวนเชื่อ  แล้วจึงนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ แล้วจึงวางแผนการรบ โดยมีเป้าหมายคือ ชัยชนะเหนือข้าศึกศัตรู
        ในการดำเนินธุรกิจอาจเปรียบได้กับการทำสงคราม   แต่ไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อ  การตลาดเปรียบได้กับทหารแนวหน้าที่ทำการรบเพื่อขยายดินแดนหรือส่วนแบ่งการตลาด   การทำการตลาดโดยปราศจากข้อมูลสารสนเทศ อาจนำมาซึ่งการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ  เสียเงินทอง  ทรัพยากรต่างๆ ในองค์กร   เช่น สูญเสียลูกค้า ให้กับคู่แข่ง  คู่แข่งตัดราคาสินค้า  ช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดไป เปรียบเหมือนการสูญเสียดินแดนในการปกครอง  เพราะฉะนั้นในการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดนอกจากจะ   “รู้เรา”  แล้วด้วยระบบการบันทึกข้อมูลภายในทางการตลาด   ก็ต้อง  “รู้เขา” ด้วยการแสวงหาข่าวสารทางการตลาดซึ่งจะต้องเป็นข้อมูลที่ได้รับการกลั่นกรองแล้วว่าเชื่อถือได้    เราจึงมักนิยมเรียกว่า ระบบข่าวกรองทางการตลาด ( Marketing Intelligence System)  ซึ่งควรมีวิธีการค้นหา รวบรวม จัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่มาจากแหล่งข่าวสารที่เชื่อถือได้อย่างเป็นระบบ
3.6.1 วัตถุประสงค์ของระบบข่าวกรองทางการตลาด (Purpose of  Marketing Intelligence System)   เพื่อค้นหาข้อมูลที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้พึงพอใจสูงสุดเพราะสามารถนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าได้   ส่งผลให้การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น       อีกทั้งยังช่วยให้องค์กรสามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบจุดแข็งจุดอ่อนกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน      สามารถวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคในท้องตลาด ก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน ด้วยการวางแผนกลยุทธ์ที่ดำเนินกิจกรรมทางการตลาดก่อนคู่แข่งและสกัดกั้นโอกาสของคู่แข่ง
3.6.2  ขอบเขตของระบบข่าวกรองทางการตลาด ( Scope of  Marketing Intelligence System)
? การแสวงหาข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) หรือมหภาค เรียกอีกอย่างว่า
BPEST Analysis  ได้แก่  
- ข้อมูลจากธุรกิจอุตสาหกรรมเดียวกัน (Business or Industrial Analysis)
- ข้อมูลทางกฎหมาย การเมือง (Political and legal environment)
- ข้อมูลทางเศรษฐกิจและประชากรศาสตร์ (Economics and demographic  environment)
- ข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรม (Social and cultural environment)
- ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Technology and natural environment)
? การแสวงหาข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมในการดำเนินกิจการ (Task Environment with  Five Forces Model)
- ข้อมูลของผู้เข้าอุตสาหกรรมใหม่ (New entrants)
- ข้อมูลของบริษัทคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ (Suppliers)
- ข้อมูลของผู้ซื้อหรือลูกค้า (Customer)
- ข้อมูลของสินค้าทดแทน (Substitutes)
- ข้อมูลของคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Industrial  rivalry)
? การแสวงหาข้อมูลจากสภาพแวดล้อมในการแข่งขัน (Competitive environment)
- ข้อมูลต้นทุนการผลิตของคู่แข่ง (Production costs)
- ปริมาณการผลิตที่ประหยัด (Economies of scale)
- ขอบเขตการผลิตที่ประหยัด (Economies of scope)
- การประเมินค่าของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง   (Extent  of  product differentiation)
- ความต้องการเงินทุน (Capital  requirements)
- ช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution Channels)
- ส่วนแบ่งทางการตลาด  , ส่วนแบ่งในใจลูกค้า (Share of market , share of mind)
- การจดจำและแยกแยะตราสินค้าของลูกค้า (Brand recognition)
       ระบบการแสวงหาข้อมูลทางการตลาดสามารถให้ข้อมูลที่เท็จจริงของคู่แข่งที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมภายนอกหรือในท้องตลาดแก่ผู้บริหารการตลาดได้ ซึ่งที่มาของข้อมูลมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มากมายดังนี้
1. ข้อมูลจากบุคลากรภายในบริษัท  (Company’s personnel) นับตั้งแต่ผู้บริหาร  ทีมที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ  พนักงานจัดซื้อ  พนักงานขาย  หรือพนักงานคนอื่นๆ  
2. ข้อมูลจากกลุ่มซัพพลายเชนของบริษัท (Company’s supply chain)เช่น บริษัทคู่ค้า  ตัวแทนจำหน่าย   ลูกค้า  พันธมิตร ทางการค้า  พ่อค้าคนกลางต่างๆ  
3. ข้อมูลจากคู่แข่งขันทางการค้า (Competitors) เช่น  จากรายงานประจำปีของบริษัทคู่แข่ง  จากการให้ข่าว ให้สัมภาษณ์ทางสื่อต่างๆ ของคู่แข่ง   จากสินค้า  การโฆษณา การส่งเสริมการขายและการสื่อสารทางการตลาดของคู่แข่ง   เช่น เว็บไซต์   นิตยาสาร  วารสาร  จุลสาร เอกสารประจำบริษัท  แผ่นพับ  โบรชัวร์
4. ข้อมูลจากส่วนราชการ (Government sources) ข้อมูลจากสถิติวิจัย  การสำมะโน หรือกรม กอง ต่างๆ
5. ข้อมูลจากสื่อสาธารณะ (Publication and mass media) เช่น โทรทัศน์  วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร  เว็บไซต์ ฯลฯ
6. ข้อมูลจากหน่วยงานบริการข้อมูล เช่น องค์กรวิจัย  บริษัทรับทำวิจัยข้อมูลธุรกิจ  
7. ข้อมูลจากฐานข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์   CD-ROM หรือ ออนไลน์ ที่มีบริการตามศูนย์สารสนเทศต่างๆ
8. ข้อมูลจากอินเตอร์เนต (Internet)  โดยใช้เครื่องมือในการค้นหา  เช่น Search engines , Portal site , Web  boards ,   ห้องสนทนา หรือ Chat Room ฯลฯ
          ข้อมูลต่างๆที่ทำการสืบเสาะแสวงหาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ  ทั้งที่ใช้และไม่ใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี  จะเป็นข้อมูลที่ได้รับการกลั่นกรองแล้ว  มีความเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง  บางข้อมูลสามารถนำไปใช้ตัดสินใจหรือประมวลผลได้เลย  แต่ข้อมูลบางอย่างอาจต้องมีการวิเคราะห์เพิ่มเติม   ตัวอย่าง เช่น
การวิเคราะห์การแข่งขัน  == เราควรรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับคู่แข่งขัน===
- ใครเป็นคู่แข่งขันของเรา
- คู่แข่งของเราใช้กลยุทธ์ทางการตลาดอย่างไร
- วัตถุประสงค์ของเขาคืออะไร
- อะไรคือจุดอ่อน จุดแข็งของเขา
- เขาเหล่านั้นจะมีปฏิกริยาต่อไปอย่างไร

จัดทำโดย : นายประกอบ  ตรรกชนชูชัย
ที่มา : http://courseware.payap.ac.th/docu/mk380/f3.6.htm

การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน คือ
 
1.สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment 

คือ สภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ โปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
 
2.สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External Environment

 ภาวะ แวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค
 

 

 

 
 

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค (Micro External Environment
 
        คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมได้ แต่สามารถเลือก ที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
        - ตลาด หรือลูกค้า (Market)
        - ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)
        - คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)
        - สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์ (Publics)

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค (Macro External Environment)
 
        คือ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ ได้แก่
        - ด้านการเมืองและกฎหมาย 
        - เศรษฐกิจ
        - สังคม
        - เทคโนโลยี

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ


        SWOT (SWOT Analysis) เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัย เหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร
1.S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด 
2. W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
3.O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการ ดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
4.T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรค ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

จัดทำโดย : นายประกอบ  ตรรกชนชูชัย
ที่มา : 
http://arsalgod.exteen.com/page/3

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

ระบบข้อมูลภายในกิจการ

เรื่องที่ 2.1.3 ระบบข้อมูลข่าวสารภายใน
          ระบบสารสนเทศพื้นฐานที่ผู้จัดการการตลาดใช้เป็นประจำ   คือ   ระบบสารสนเทศภายในกิจการ   ระบบ
สารสนเทศภายในกิจการ       เป็นระบบที่เกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลหรือสารสนเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานที่ผู้
ปฏิบัติงานรายงานผลการทำงาน       ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ผู้จัดการการตลาดทราบถึงโอกาส     ปัญหา    และ
อุปสรรคในการดำเนินงาน    เพื่อที่ผู้จัดการการตลาดจะได้ฉกฉวยโอกาสทางการตลาด   หรือแก้ไขปัญหาและ
อุปสรรคได้ทันท่วงที
          ธุรกิจการผลิตจะมีรายงานต้นทุน    จำนวนสินค้าคงคลัง    กระแสการไหลเวียนของเงินสด      ค่าใช้จ่าย
ทางตรงและทางอ้อม   การควบคุมคุณภาพ   เป็นต้น
          ธุรกิจการตลาดจะมีรายงานเกี่ยวกับยอดขาย   ค่าใช้จ่าย   กำไรจากการขาย    ปัญหาและอุปสรรคจาก
การเยี่ยมเยียนลูกค้าจากการขาย       รายงานความเปลี่ยนแปลงของตลาด      พฤติกรรมผู้บริโภค     คู่แข่งขัน
รายงานผลการโฆษณา     การส่งเสริมการขาย   เป็นต้น 
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภายในกิจการ          ระบบสารสนเทศภายในกิจการ ประกอบด้วยสารสนเทศที่เกี่ยวกับ    คำสั่งซื้อ   ยอดขาย    ราคา   ต้นทุน
ระดับสินค้าคงคลัง    ลูกหนี้   เจ้าหนี้ และอื่น ๆ
          องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภายในกิจการ   ได้แก่
       
1. วงจรใบสั่งซื้อและการเก็บเงิน (The Order-to-Payment Cycle) เป็นหัวใจสำคัญของระบบสารสนเทศ
ภายในกิจการ   นักขาย   ตัวแทนจำหน่าย   และลูกค้าส่งใบสั่งซื้อมาที่แผนกขาย    แผนกขายจะกระจายใบสั่งซื้อ
ไปยังแผนกที่เกี่ยวข้อง   ซึ่งจะต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง     ถ้าแผนกใดมีสินค้าขาดมือจะส่งใบ
สั่งซื้อกลับมา        ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อบริษัท แผนกส่งของจะส่งสินค้าไปยังลูกค้าด้วยความรวดเร็วเพื่อให้เกิดความ
พึงพอใจ     แผนกเรียกเก็บเงินจะดำเนินการต่อเนื่องโดยจะต้องมีการประสานงานเป็นอย่างดีระหว่างแผนกต่าง ๆ
ซึ่งต้องอาศัยระบบสารสนเทศภายในกิจการ
          ตัวอย่างของวงจรใบสั่งซื้อและการเรียกเก็บเงินของธุรกิจฟาสต์ฟูดส์จะเห็นว่าการใช้ระบบโทรศัพท์สั่งซื้อไป
ยังศูนย์กลางการสั่งซื้อ และให้สาขาที่ใกล้ลูกค้ามากที่สุดเป็นผู้ส่งของและเรียกเก็บเงิน       สามารถทำได้ภายใน
15-30 นาที  เนื่องมาจากการมีระบบสารสนเทศภายในกิจการที่ทันสมัย   โดยอาศัยการส่งแฟกซ์อีเมล์ และระบบ
คอมพิวเตอร์ออนไลน์    ทำให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
          ในปัจจุบันมีระบบ Electronic Data Interchange (EDI) หรือ Intranets  ทำให้บริษัทต่าง ๆ สามารถปรับปรุง
การให้บริการลูกค้าได้รวดเร็ว   แม่นยำ     และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น   เช่น  ธุรกิจปลีกขนาดใหญ่อย่าง Wal-Mart
ควบคุมระดับสินค้าคงคลังโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์เชื่อมต่อกับ Supplier ระบบคอมพิวเตอร์จะจัดส่งใบ
สั่งซื้อสินค้าที่ระดับสินค้าคงคลังลดลงโดยอัตโนมัติทำให้ปัญหาสินค้าขาดมือลดลง    มีสินค้าบริการลูกค้าอย่าง
เพียงพอในเวลาที่ลูกค้ามีความต้องการ
        
2. ระบบการรายงานการขาย (Sales Information Systems) ผู้จัดการการตลาดจำเป็นต้องทราบข้อมูล
เกี่ยวกับยอดขายที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน    ซึ่งนักขายจะต้องทำรายงานเข้ามาเกี่ยวกับปฏิกิริยาของลูกค้ามุ่งหวัง
ลูกค้า   คู่แข่งขัน    ตัวแทนจำหน่าย    ซึ่งมีผลต่อยอดขาย      โดยใช้ระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Sales
Force Automation Software     ซึ่งจะทำให้ผู้จัดการการตลาดติดตามความเคลื่อนไหวของยอดขายและผลลัพธ์
ทางการตลาดได้อย่างรวดเร็ว    การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ผู้จัดการการตลาดมองเห็นโอกาสและปัญหา
ที่จะเกิดขึ้น

ที่มา:http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sms/market/Unit2/Subm1/U213-1.htm
ทำโดย : นายประกอบ  ตรรกชนชูชัย

ระบบสารสนเทศทางการตลาด

เรื่องที่ 2.1.2 องค์ประกอบของระบบข้อมูลข่าวสารทางการตลาด
          ผู้จัดการการตลาด  มีหน้าที่รับผิดชอบวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด   วางแผนการตลาด   นำแผนไปปฏิบัติ
และควบคุมงานการตลาด ผู้จัดการการตลาดจำเป็นต้องทราบสารสนเทศที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางการตลาด
ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา   บทบาทของระบบสารสนเทศทางการตลาดมีดังนี้
          1)  ประเมินความจำเป็นและความต้องการสารสนเทศทางการตลาด  และประเภทของสารสนเทศที่ต้องการ
          2)  พัฒนาสารสนเทศให้สอดคล้องกับความจำเป็น    และความต้องการผ่านระบบสารสนเทศภายในกิจการ
                ระบบข่าวกรองทางการตลาด การวิจัยทางการตลาดและระบบการสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด
          3)  กระจายสารสนเทศไปยังผู้จัดการการตลาดอย่างเพียงพอ      ตรงตามความจำเป็นและความต้องการใน
                เวลาที่ต้องการ
ระบบสารสนเทศทางการตลาด (Marketing Information System) ประกอบด้วย
          
1. ระบบสารสนเทศภายในกิจการ (Internal Records System) ประกอบด้วย  วงจรการสั่งซื้อและการ
เก็บเงิน  ระบบข้อมูลการขาย   เพื่อให้ผู้จัดการการตลาดทราบผลการดำเนินงานในปัจจุบัน
          
2. ระบบข่าวกรองทางการตลาด (Marketing Intelligence System)     เป็นกระบวนการที่ผู้จัดการการ
ตลาดจะใช้เพื่อให้ได้สารสนเทศเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางการตลาดในปัจจุบัน   และที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต
เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของสภาพแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา          เพื่อให้สามารถปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้
สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
          
3. ระบบการวิจัยการตลาด (Marketing Research System)     หมายถึง     การออกแบบระบบการวิจัย
การเก็บรวบรวม   การวิเคราะห์    และการรายงานข้อมูล   การค้นหาคำตอบในสิ่งที่สนใจหรือเป็นปัญหาทางการ
ตลาดที่บริษัทกำลังเผชิญอยู่เพื่อค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหา
          
4. ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด (Marketing Decision Support System)    ถือเป็น
กระบวนการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเก็บข้อมูล      วิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีระบบและหลักเกณฑ์      โดยนำเอา
เทคนิคของการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเครื่องมือทางคณิตศาสตร์และสถิติมาสร้างตัวแบบจำลอง  เพื่อนำมาใช้
หาผลลัพธ์หรือแนวทางที่เหมาะสมที่สุด
ที่มา:  http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sms/market/Unit2/Subm1/U212-1.htm
ทำโดย : นายประกอบ  ตรรกชนชูชัย

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

กระบวนการวิจัยตลาด

การวิจัยตลาด (Market Research)
        เป็นการรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นระบบ อันเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย ทางการตลาดที่เฉพาะเจาะจง คู่แข่ง และ/หรือสภาพแวดล้อม ซึ่งมักจะเป็นการรวบรวม ข้อมูลในบางรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการวิจัยขั้นทุติยภูมิ (Secondary Researchหรือที่ มักเรียกว่าการวิจัยบนโต๊ะ Desk Research ) หรือการวิจัยขั้นปฐมภูมิ (Primary Research) ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลโดยตรงจากผู้ตอบคำถาม
        จุดประสงค์ของโครงการวิจัยตลาดใดๆก็คือ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องที่ทำการศึกษาให้มากขึ้น จากภาวะการแข่งขันที่เข้มข้น ขึ้นทั่วทุกมุมโลก ปัจจุบันการวิจัยตลาดจึงอยู่ในระเบียบวาระในหลายๆองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตามจนการออกแบบสินค้าหรือบริการ

การวิจัยตลาดของทีมงาน ดีบีฟอบิสเนส ในด้านการวิจัยตลาด มีดังนี้

  • บริการจัดทำแบบสอบถามทั้งภาษาไทย อังกฤษ เกาหลี ญี่ปุ่น จีน และอื่นๆ
  • บริการแจกแบบสอบถาม และรวบรวมข้อมูล
  • บริการลงสำรวจพื้นที่ พร้อมทำรายงานความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจต่างๆ

ขั้นตอนวิธีการวิจัยมีดังนี้

วิจัยตลาด marketing research

  • ขั้นปัญหา (Problem) เป็นการกำหนดชี้วัดลงไปว่ามีปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
  • ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นการคาดคะเนคำตอบที่คิดว่าน่าจะเป็นอย่างมีเหตุผล ก่อนที่จะตรวจสอบคำตอบที่แท้จริง ของคำตอบนั้นๆ
  • ขั้นรวบรวมข้อมูล (Collecting data) เป็นการศึกษา ค้นหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อไป
  • ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) เป็นการจัดกระทำกับข้อมูลที่รวบรวมมาได้โดยวิธีการทางสถิติหรือตรรกศาสตร์ เพื่อตรวจสอบว่า สมมุติฐานที่ตั้งไว้เป็นจริงหรือไม่
  • ขั้นสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลว่าข้อเท็จจริงของปัญหานั้นคืออะไร

วัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาด

        เพื่อทำการวิจัยตลาด เหล่าองค์กรอาจตัดสินใจทำโครงการวิจัยด้วยตนเอง ( บางองค์กรอาจใช้ฝ่ายการวิจัยตลาด) หรืออาจใช้บริการ บริษัทหรือที่ปรึกษาด้านการวิจัยตลาด ไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม จำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมายของการวิจัยใดๆก่อนที่จะทำการวิจัย ยกตัวอย่างเช่น ต้องการเรียนรู้อะไรจากการวิจัยและจำเป็นต้องรู้อะไรบ้าง
        หลังจากที่พิจารณาเรื่องของวัตถุประสงค์ การวิจัยตลาดสามารถนำเทคนิคและวิธีการวิจัยหลายๆแบบมาใช้เพื่อให้ได้้ข้อมูลที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลแบบเชิงข้อมูลปริมาณ (Quantitative information) และเชิงข้อมูลคุณภาพ (qualitative information) ซึ่งการนำแต่ละวิธีมาใช้จะขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการวิจัย แต่ส่วนมากเชื่อว่าจะได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์สูงสุดหากรวมสองวิธีนี้เข้าด้วยกัน

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

วิจัยตลาด marketing research

        การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงตัวเลขที่มุ่งเน้นความสนใจไปที่การวัดปรากฏการณ์ทางการตลาดและมักจะเกี่ยวเนื่องกับ การวิเคราะห์ทางสถิติ ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารหนึ่งๆอาจขอให้ลูกค้าทำการให้คะแนนการบริการของธนาคารว่ายอดเยี่ยม ดี แย่หรือแย่มาก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลเชิงปริมาณที่สามารถวิเคราะห์ออกมาในเชิงสถิติได้ ข้อสำคัญของการวิจัยเชิงปริมาณคือผู้ตอบคำถามทุกๆคน จะต้องได้รับคำถามชุดเดียวกัน วิธีการนี้เป็นแบบแผนอย่างมากและมักจะเกี่ยวข้องกับผู้ถูกสัมภาษณ์หรือผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมาก
        บางทีเทคนิคเชิงปริมาณที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายที่สุดคือ “การสำรวจวิจัยทางการตลาด” (market research survey) โครงการเหล่านี้เป็นโครงการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลจากหลายๆรูปแบบ เช่น ลูกค้าหรือกลุ่มผลิตภัณฑ์ การสำรวจเชิง ปริมาณสามารถทำได้โดยการส่งทางไปรษณีย์ (ตอบแบบสอบถามด้วยตนเองหรือ self-completion) แบบตัวต่อตัว (ตามถนนหรือที่บ้าน) ทางโทรศัพท์ อีเมล์หรือเทคนิคเวปไซด์ แบบสอบถามเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการรวบรวมข้อมูลจาก การสำรวจ แต่ก็เป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมืออันหลากหลายที่ใช้สำหรับการรวบรวมข้อมูล
ที่มา:http://www.db4business.com/marketing_research.htm
ทำโดย : นายประกอบ ตรรกชนชูชัย